การดูแลรถยนต์ให้ใหม่อยู่เสมอ

การดูแลรถยนต์ให้ใหม่อยู่เสมอ
คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจซื้อรถด้วยเหตุผลของราคา ประโยชน์ใช้สอย และอัตราการบริโภคน้ำมันของเครื่องยนต์ น้อยคนนักที่จะนึกถึงการบำรุงรักษาเครื่องยนต์หลังจากได้เป็นเจ้าของรถแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของรถควรทราบและคำนึงถึง วันนี้จึงมีข้อควรปฏิบัติสำหรับเจ้าของรถเพื่อยืดอายุการใช้งานพาหนะคู่ใจ และการบำรุงรักษาให้เหมือนใหม่เสมอ ดังนี้   – ปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถยนต์ที่ได้มาตอนซื้อรถ ถ้ามีตารางการซ่อมบำรุงก็ใช้เป็นแนวทางในการตรวจเช็ครถ แต่ควรตรวจเช็คในคู่มืออีกที ว่าถึงเวลาเปลี่ยนอะไหล่เมื่อไหร่  อย่าลืมเปลี่ยนสายพานเมื่อรถวิ่งได้ทุกๆ 60,000 – 90,000 ไมล์ การเปลี่ยนสายพานราคาอาจจะสูงสักหน่อย แต่ก็ถูกกว่าค่าเสียที่เกิดขึ้นหากสายพานขาด   – สำหรับการซ่อมบำรุงรถ เพราะในแต่ละปีคุณควรจะมีงบในการบำรุงรักษารถ 5,000 – 20,000 บาท แล้วแต่อายุการใช้งาน ถ้ามีการสะสมงบเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกับรถก็จะไม่กระทบกับการเงินของคุณ   – หาข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นที่คุณใช้ รถทุกรุ่นมักจะมีเว็บไซต์ของตัวเอง บอกข้อมูล และปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเวลาใช้ คุณจะได้มีความพร้อมที่รับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับรถของคุณ   – เวลาขับขี่คอยสังเกตว่ามีเสียง หรือกลิ่นที่ผิดไปจากปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีควรปรึกษาช่างเพื่อหาสาเหตุ คุณผู้ใช้รถเป็นประจำเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดเมื่อรถเกิดอาการผิดปกติ   – เมื่อเกิดความเสียหายกับรถให้ซ่อมทันที แม้ว่าจะเป็นความเสียหายเล็กน้อย อาทิ เบาะที่นั่งขาด หรือสายไฟหลุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น หรือสร้างความรำคาญให้กับคุณเอง   – ใช้อะไหล่ที่มีคุณภาพ หากมีงบประมาณจำกัดไม่สามารถซื้ออะไหล่แท้ควรปรึกษาช่างเพื่อหาทางเลือก การซื้ออะไหล่แท้มือสองก็เป็นอีกทางที่จะได้ของคุณภาพในราคาย่อมเยาว์   – ทำความสะอาดรถอย่างสม่ำเสมอ สีรถนอกจากจะช่วยให้รถดูดี ยังเป็นการปกป้องวัสดุข้างในด้วย ควรล้างรถเป็นประจำ ถ้าน้ำเริ่มไม่เกาะเป็นหยดๆ บนสีรถ ให้ลงแว็กเคลือบสี   – ควรขับรถอย่างนิ่มนวล แม้ว่าการขับรถด้วยความเร็วสูงบ้างในบางครั้งจะช่วยให้เครื่องยนต์มีความคล่องตัว แต่ไม่ควรเหยียบคันเร่งจนมิด หรือขับรถโดยใช้ความเร็วสูงตลอดเพราะไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์

อ้างอิง http://www.unseencar.com/content1.php

โพสโดย นาย สุวิจักษณ์ สมุห์มานิต ม.6/5 เลขที่ 20

Test Drive: Honda S2000

Test Drive: Honda S2000

Test Drive: Honda S2000 Can it stay above all other roadsters?

          ก่อนอื่นๆเลยต้องขอสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังแก่สมาชิกชาว Motortoday ทุกคนครับ ขอให้ปีใหม่นี้สมาชิกทุกคนมีความสุขมากๆ หวังสิ่งใดก็จอให้สมหวังในทุกๆเรื่องและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนะครับ

หลังจากที่บทความ Test Drive ห่างหายไปนานกว่า 2 เดือน ซึ่งไม่ใช่ความผิดใครหรอกครับ เป็นความผิดผมเองที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างมาทดสอบรถหรือนั่งเคาะแป้นพิมพ์สักเท่าไร เพราะติดภารกิจหลายอย่าง ยังไงก็ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วย เอาเป็นว่าจะพยายามหาเวลาว่างมานั่งพิมพ์บทความให้อ่านกันมากขึ้นละกันครับ

ส่วนพระเอกของเราในคราวนี้ อาจจะไม่ใช่ supercar เหมือนที่ผ่านๆมาก็จริง แต่ก็มีความน่าสนใจในตัวมันเองอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน อีกอย่างคือ เคยมีสมาชิกหลายคนอยากให้เอารถ sport ของ Honda มาลองบ้าง แล้วเผอิญสบโอกาสเหมาะ ได้มีเวลาไปสัมผัสกับเจ้า S2000 รถ roadster เพียงหนึ่งเดียวของ Honda เข้าพอดี… คราวนี้ใครที่อยากรู้ว่าเจ้า S2000 มันขับสนุกไหมให้อารมณ์เป็นอย่างไร ก็ลองอ่านดูละกันนะครับ

มาเริ่มที่ประวัติของเจ้า S2000 กันก่อนดีกว่า ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า 2000 นั้นก็หมายถึงมันออกมาในช่วงใกล้ๆจะเข้าปี millennium โดยทางวิศวกร F1 ของ Honda ต้องการจะสร้างรถสปอร์ตที่ให้อารมณ์และ technology จากสนามแข่งออกมาให้ขับเล่นบนถนน โดยผลิตรถ concept ออกมาในรหัส SSM Concept Car หลังจากผลิต concept car ออกมาสำรวจกระแสตอบรับ ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ มีคนอยากได้อยู่มากมาย ทาง Honda เลยตัดสินผลิต roadster ที่มี technology จากสนามแข่ง Formula 1 ออกมาในรหัส S2000 (แต่เท่าที่ลองดูๆยังหาไม่เจอว่าอะไรที่เอามาจากรถ Formula 1 บ้างนอกจากปุ่ม start กับหน้าปัดที่เป็น digital) โดยในปีแรกตั้งกำลังการผลิตไว้ที่ 15,000 คัน โดยจะส่งไปขายตลาดอเมริกาที่ชื่นชอบรถประเภทนี้ถึง 5,000 คัน ส่วนส่งมาบ้านเรากี่คันนี่ไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จในยอดขายอย่างรุนแรงโครงสร้างตัวถังทาง Honda บอกว่าเจ้า S2000 มันทันสมัยมากๆในสมัยนั้น เพราะเป็น “hybrid monocoque body” และ “high X-bone frame” แปลให้ฟังแล้วอาจจะงงๆว่ามันมีดีตรงไหน เอาเป็นว่าไอ้ตัวถังเหล็กแบบนี้ทาง Honda เคลมว่ามันสามารถให้ความแข็งแรงได้เท่าๆกับรถที่มีหลังคาทั่วๆไป รับรองว่าปลอดภัยหายห่วง จริงหรือไม่ ไม่สามารถทราบได้ เพราะยังไม่ได้ลองเอาไปชนดู

รูปร่างหน้าตาภายนอกนับว่าออกแบบมาได้โดนใจวัยรุ่นสมัยนู้นจนถึงสมัยนี้พอสมควร เพราะตอนนั้นเจ้า S2000 แทบจะไร้คู่แข่งสัญชาติเดียวกัน การออกแบบภายนอกตามสไตล์รถ roadster เด๊ะๆ คือหน้ายาว ตูดสั้นๆ ไม่มีหลังคา และเบาะรวมถึงตำแหน่งที่นั่งคนขับอยู่ใกล้ฐานล้อหลัง ด้านหน้านับว่าเป็นรถสปอร์ตที่หน้าตาเป็นมิตรมากที่สุดรุ่นหนึ่ง คือดูรวมๆแล้วเหมือนกับรถมันยิ้ม ไฟหน้าแบบทรงเหลี่ยมดูสวยดี ภายในโคมไฟหน้าเป็นแบบ projector (ของตัวปี 2004 ก็เป็นแบบ projector xenon แต่จุดแตกต่างคือไฟเลี้ยว ในตัวปี 2004 ไฟเลี้ยวจะเป็นดวงกลมๆสีส้มอยู่ภายในโคม ซึ่งทางเจ้าของคันนี้ก็สั่งมาเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ได้ใส่ เพราะรอกล่องควบคุมอยู่) มาพร้อมกับกันชนหน้าที่เปลี่ยนใหม่ไปใช้ของ model ปี2004 จะต่างกับตัว model ปี 2000 ตรงที่ชายล่างซ้ายขวาของกันชนปี 2004 จะมีเส้นยกขึ้นมา ทำให้ด้านหน้าดู sport มากกว่าตัวปี 2000 ที่กันชนจะเรียบสนิททางด้านข้างดูดีๆจะเห็นว่ารถมันหน้ายาวๆเรียบๆอีกเช่นเคย คันนี้เปลี่ยน mag ไปใช้ของ Mugen รุ่น MF10 Mirror Face ขนาด 17 นิ้ว สวยและแพง มาพร้อมกับยาง Yokohama AVS ES100 เส้นข้างก็เป็นเส้นเรียบๆลากตั้งแต่หลังปลายซุ้มล้อหน้าไปเชิดขึ้นตรงก่อนซุ้มล้อหลัง ทำให้รถดูเตี้ยกว่าความเป็นจริง โดยไม่ต้องใส่สเกิร์ต ส่วนตัวผมมันก็สวยดี รถแบบ roadster เนี่ยถ้าจะให้สวยส่วนใหญ่ต้องมองด้านข้าง ตอนเปิดหลังคานี่แหละ ทางด้านท้ายไฟท้ายเป็นแบบโคมใสมีไฟเบรกกับไฟถอยทรงกลมอยู่ด้านใน ถ้าเป็นตัว model ปี 2004 ไฟท้ายตรงไฟเบรกรอบๆจะเป็น LED ล้อมเป็นวงกลมตามสมัยนิยม เพิ่มความเป็นสปอร์ต (เจ้าของสั่งมาแล้วเหมือนกันแต่ยังไม่ได้ใส่) ส่วนกันชนหลังคันนี้เปลี่ยนไปใช้ของปี 2004 เรียบร้อยแล้วครับ จุดสังเกตก็คือมันจะมีเส้นสายตรงขอบด้านข้างกันชนเว้าเข้ามาเหมือนกับด้านหน้า แล้วก็เว้าตรงปลายท่อไอเสียมากกว่าตัวปี 2000 เอาเป็นว่าเส้นพวกนี้ช่วยแก้ความเลี่ยนได้ดีพอสมควร ท่อไอเสียออกสองฝั่งตามประเพณีรถสปอร์ต แต่ถ้าในยุคที่มันพึ่งออกก็ถือว่านำสมัยพอสมควรนะ เพราะว่าในยุคนั้นรถที่ท่อไอเสียออกสองฝั่งส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่รถสปอร์ตเครื่องใหญ่ๆจากยุโรปละก็หมดสิทธ์

เมื่อเปิดกระโปรงหน้าดูจะพบ กกน.สีแดง เฮ้ย ไม่ใช่! เครื่องยนต์ที่วัยรุ่นบ้านเราชอบเรียกกันว่าฝาแดงในรหัส F20 C วางตามยาว ขับเคลื่อนล้อหลัง ผิดแผกแปลกแยกจากพี่ๆน้องๆชาว Honda ทั่วไปที่มักวางขวางขับเคลื่อนล้อหน้า โดยไอ้เครื่อง รหัส F20C นี่แหละได้รางวัลเครื่องยนต์ยอดเยี่ยมขนาดไม่เกิน 2000 cc. ตั้งกี่ปีติดไม่รู้จำไม่ได้ แต่ที่แน่ๆคือมันเป็นเครื่องยนต์ NA ที่ผลิตแรงม้าต่อลิตรได้มากที่สุดในโลกบวมๆใบนี้ คือมีความจุแค่ 1,998 cc. แบบ Double Over Head Camshaft (DOHC)ใช้ระบบหัวฉีด PGM-FI เหมือนกับที่ใช้ในแมงกะไซค์ 125 cc. มีระบบ Variable Valve Timing ที่เรียกกันว่า V-Tec เหมือนกับรถบ้าน Honda Civic ทั่วๆไป แต่สร้างแรงม้าได้มากถึง 250 แรงม้า ตกแล้วคือลิตรละ 125 แรงม้า มากกว่า Enzo ที่ผลิตได้ 108 ตัวและ 360 ที่ผลิตได้ 111 ตัว) ถ้านึกไม่ออกว่ามันมากขนาดไหน ลองไปเปิดตู้เย็นแล้วหยิบขวดนมออกมาหนึ่งขวดแล้วนึกดูว่าขวดนมนั้นผลิตม้าได้ตั้ง 125 ตัวนั้นแหละครับ แต่ทุกอย่างมันต้องมีข้อด้อยอยากรู้ต้องอ่านต่อไปเดี๋ยวจะบอก ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดาแบบ 6 speed ลงสู่ล้อหลัง ช่วงล่างเป็นแบบ double wishbone ตามสไตล์ Honda ระบบเบรกเป็นแบบ disc brake สี่ล้อพร้อม ABS caliper เบรกแบบ pot เดียว ไม่ได้เป็น Brembo ครับ

Engine [F20C] L4 DOHC VTEC
Cylinder Capacity 1,998 cc.
Max. Power 250 bhp @ 8,300 rpm
Max. Torque 218 Nm @ 7,500 rpm
Weight/Power Ratio 125 bhp/litre
Transmission FR
Gear Box 6-Speed Manual
0-100 6.2 sec
0-400 – sec
0-1000 – sec
100-0 – sec
Top Speed 241 km/h
Length 4,135 mm
Width 1,750 mm
Height 1,285 mm
Weight 1,250 kg

แน่นอนว่าเมื่อเป็น roadster คันเล็กจะให้ภายในห้องโดยสารใหญ่เหมือนกับ Series7 ก็คงไม่ได้ มันต้องออกแนวแคบๆเบียดๆ เหมาะแก่การเอาไปรับสาวๆเป็นที่สุดเพราะมันนั่งได้แค่สองคน (รับได้เฉพาะสาวหุ่นดีๆด้วย) ไม่ต้องเผื่อรับว่าที่พ่อตากับแม่ยายมาให้เป็นก้างขวางคอ ไม่มีที่นั่งด้านหลังแม้กระทั่งสำหรับหมา คนตัวใหญ่ๆอาจจะไม่ชอบ วัสดุภายในส่วนใหญ่ที่ใช้มักเป็น plastic ตามสไตล์รถญี่ปุ่นดูไม่ค่อยสมราคาเท่าไร ยังดีที่ได้แผงประตูข้างกับเบาะนั่งเป็นหนังแบบ semi-bucket seat ไม่ใช่ของ Recaro เหมือนกับในพวก Type R ทั้งหลาย พวงมาลัยทรงสามก้านขนาดเล็ก หน้าปัดเป็นแบบ digital ถามว่ามันดูเท่ห์ไหม ตอบไม่ได้ครับ แล้วแต่จะชอบ แต่ถ้าถามผม ผมกลับไม่ค่อยชอบหน้าปัดแบบนี้มันดูยาก ดูนานๆแล้วปวดลูกกะตา ขอแบบเข็มโง่ๆดีกว่าอ่านง่ายดี

Console เกียร์ถือว่าค่อนข้างหนา ทำให้ห้องโดยสารรู้สึกแคบ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกียร์แบบ 6 speed พร้อมหัวเกียร์อะลูมิเนียม ถัดลงมาเป็นสวิทช์ไฟฉุกเฉิน อยู่ข้างๆสวิทช์ควบคุมระบบประทุนผ้าใบไฟฟ้า ย้ำครับว่าไฟฟ้า ไม่ใช้ manual เหมือนในรถสปอร์ตราคา 41 ล้านนามว่า Murcielago Roadster ที่ต้องใช้คนสี่คนช่วยกันติดและกินเวลา 25 นาที ส่วนหลังคาแข็งของเจ้า S2000 นั้นมีมาให้แต่ต้องใช้คนยกมาติดเอง

จุดแตกต่างระหว่างเจ้าตัวปี 2000-2003 กับตัว 2004 ก็คือถ้าเป็นตัวปี 2004 เท่าที่ทราบห้องโดยสารจะกว้างกว่านี้อีกเล็กน้อย แล้วก็มีการใช้อะลูมิเนียมเข้ามาตกแต่ง พร้อมกับเบาะหนังแบบทูโทนครับ

เอาละหลังจากสำรวจรอบคันก็ได้เวลาไปลองขับเจ้า Honda S2000 ซะที เปิดประตูกระโดดขึ้นรถ การขึ้นลงไม่ได้ลำบากยากเย็นแสนเข็นเหมือนกับ supercar หรือพวกรถสปอร์ตเบาะ bucket seat ทั่วๆไป เบาะของเจ้า S2000 นั่งได้สบายดีครับ แม้จะไม่กระชับรัดติ้ว แต่ก็พอไหว ปรับเบาะสักสองสามทีก็พอดี ตำแหน่งนั่งไม่ได้เตี้ยเกินไปเหมือนกับพวก Lotus Elise ที่นั่งลงไปทีนึกว่ามีแต่พนักพิง ต้องเอาตูดไปกองกับพื้น แต่ขอเสียคือไอ้ความที่เบาะนั่งมันไม่ต่ำนี่แหละ ถ้าให้คนตัวสูงๆมานั่งรับรองว่าหัวพ้นกระจกแหงมๆ บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง On ทิ้งไว้สองสามวินาทีแล้วกดปุ่มสตาร์ทขนาดใหญ่สีแดงตรงด้านขวามือของหน้าปัด แป๊บเดียวเครื่องยนต์ก็ติด เสียงเครื่องยนต์รอบเดินเบาเป็นยังไงนะเหรอครับ เหมือนกับ Honda รถจ่ายกับข้าวทั่วไปนั้นแหละ เหยียบคันเร่งดูสองสามที ก็ได้แต่หน้าเบ้ เสียงมันไม่ได้อารมร์เอาซะเลยเหยียบคลัทช์ น้ำหนักคลัทช์เบาหวิวเหมือนรถบ้าน เข้าเกียร์หนึ่ง ค่อยๆปล่อยคลัทช์รถก็เคลื่อนตัวออกไปแบบนิ่มๆ ไม่ได้มีอาการกระชากใดๆ ได้แต่นั่งนึกในใจนี่ผมกำลังขับรถบ้านจ่ายกับข้าวที่สวมอยู่ในกระดองรถสปอร์ตหรือเปล่าเนี่ย ตอนแรกกะจะขับแบบเปิดประทุนอวดสาวๆซะหน่อย แต่ไปๆมา เห็นสภาพอากาศบ้านเราบวกกับสภาพควัน (พิษ) และรถติด ถ้าเกิดสาวๆเห็นผมขับรถเปิดประทุนจากที่สาวๆจะมองด้วยสายตาชื่นชม กลับจะมองว่าไอ้หมอนี่บ้าหรือเปล่าหว่า ถ้าทางสติจะไม่ค่อยเต็ม บ่ายๆรถติดๆกลับมาเปิดประทุนขับรถดมก๊าซ CO เล่น สงสัยอบากเป็นมะเร็งปอดกับโรคหอบ เลยตัดสินใจปิดประทุน วิธีปิดอย่างที่บอกไปก่อนหน้านั้นแล้วว่ามันเป็นประทุนไฟฟ้า แค่กดปุ่มมันก็ปิดแล้ว อาศัยเวลาในการปิดไม่นานประมาณ 9 วินาที หลังจากนั้นต้อง lock เอาเองทั้งสองฝั่ง ซึ่งก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเหมือนอย่าง Murcielago Roadster การขับขี่ในเมืองถ้าเกิดขับแบบเรื่อยๆเปื่อยๆ มันก็เหมือนกับรถบ้านทั่วไปแหละครับ เสียงเครื่องนี่ Civic ชัดๆ เสียงลมและเสียงเครื่องรอดเข้ามาในรถมากพอควร เสียงยางก็ดัง เนื่องมาจากคันนี้เปลี่ยนไปใช้ยางขอบ 17” ของ AVS ES100 ที่ขึ้นชื่อลือชาว่ามันหอนได้อารมณ์เหมือนหมา Siberian Husky ตอนหน้าหนาว เท่าที่ลองขับวนเล่นอยู่ในเมืองสักพัก S2000 เป็นรถสปอร์ตที่ขับง่ายมากๆ คือทุกอย่างมันเบาหย๋องไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแป้นเบรก คันเร่ง คลัทช์ รวมไปถึงพวงมาลัย และเกียร์ ขับในเมืองสบายไม่เหนื่อยไม่เมื่อย แต่ข้อเสียก็คือมุมมองมันไม่ค่อยดีนัก มีจุดบอดให้เห็นค่อนข้างมากตอนปิดประทุน หลักๆก็คือมุมมองด้านหลัง ตรง pillar C นั้นแหละครับ เวลาเปลี่ยนเลนจะมีมุมอับหันไปดูก็ไม่ค่อยเห็นเท่าไร อีกอย่างก็คือห้องโดยสารค่อนข้างแคบ leg room มีน้อย สำหรับผมที่ตัวสูงกว่าคนแคระทั้งเจ็ดหน่อยหนึ่งมันไม่มีปัญหาหรอก แต่ถ้าคนตัวสูงๆอาจจะลำบากหน่อย ในการใช้ความเร็วต่ำๆช่วงล่างถือว่านิ่มนะ ถ้านับกับพวกรถสปอร์ตด้วยกัน นี่ขนาดใช้ mag 17” นะนี่ ยังไม่ได้กระแทกกระทั้นจนก้นระบม โอเคว่ามันไม่ได้นิ่มระดับรถจ่ายกับข้างอย่าง Honda City หรือว่ารู้สึกว่ารถลอยอยู่เหนือถนนเหมือนกับ Series 7 คิดว่าถ้า mag 16” ติดรถเดิมๆคงนิ่มกว่านี้โขวนอยู่ในเมืองตั้งนาน จนเริ่มชินก็เลยลองหาทางว่างๆดู performance ของรถ อยากรู้นักว่าไอ้เครื่อง 250 ม้านี่มันจะวิ่งดีสักขนาดไหน พอเจอทางโล่งๆปุ๊บ ลองกระทกคันเร่งสวนลงไปที่เกียร์ 3 แถวๆ 4,500 rpm ผลที่ได้คือใบ้สนิท ไม่ได้มีอาการดึงหรืออาการที่จะบอกให้รู้ว่าตูแรงนะเฟ้ยอะไรใดๆทั้งสิ้น เอาใหม่คราวนี้ออกจากเกียร์หนึ่งเลย เปลี่ยนเกียร์ทุกๆ 5,500 rpm ผลที่ได้ก็คือเหมือนเดิมคือรถมันไม่ค่อยมีแรง แม้ว่าจะมีแรงม้าถึง 250 แรงม้า แต่นู้นน..น… มันมาที่ 8,300 รอบ ส่วนแรงบิดที่แสนจะน้อยนิดเพียงแค่ 218 Nm ก็มาที่รอบสูงปรี้ดเช่นกันคือ 7,500 rpm ลองจับ 0-100 ดูตอนที่เปลี่ยนเกียร์ที่ 5,500 rpm ผลที่ได้คือเจ้า S2000 มันใช้เวลาตั้ง 11 วินาทีเศษๆ โอ้ว พระเจ้า วิ่งดีกว่า Honda Civic 2.0 นิดเดียวคราวนี้เลยขออีกรอบ คราวนี้จะขับเหมือนกับพึ่งทะเลาะกับแฟนหรือโกรธใครสักคน ประมาณว่าพ่อกระทืบไม่ยั้ง จอดรออยู่ริมๆทางด่วนรอรถว่าง พอว่างปุ๊บเลี้ยงรอบไว้ที่ 6,500 rpm พอรถว่างปล่อยคลัทช์กระแทกคันเร่งสวนลงไปทันที เสียงล้อฟรีทิ้งดังเอี้ยดมีให้ได้ยินเล็กน้อย สิ่งที่ได้รับกลับต่างจากเมื่อกี้แบบหน้ามือเป็นหลังเท้า รถพุ่งออกไปเสียงเครื่องยนต์ F20C ที่มาพร้อมกับระบบ V-Tec ทำงานแผดลั่น รอบเครื่องไต่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง 8,300 rpm ผมยกคันเร่งสับเข้าเกียร์สองทันที รอบเครื่องยังอยู่ในช่วง power band ที่ระบบ V-Tec ทำงานอยู่ตลอด จนสามารถสัมผัสกับแรงดึงได้ แม้ว่าจะไม่ได้ดึงอย่างรถ turbo แต่ก็ถือว่าโอเคแล้วละครับ สำหรับรถเครื่อง NA ที่มีความจุแค่ 2,000 cc. เผลอแป๊บเดียวก็ถึง 8,300 rpm ผมสับเข้าเกียร์สาม เสียงเครื่องมันโหยหวนดีแท้ ถ้าคุณเปลี่ยนเกียร์ที่ 8,300 rpm เจ้า S2000 สามารถทำความเร็ว 0-100 ได้ในเวลาแถวๆ 6 วินาที ต่างกับการเปลี่ยนเกียร์ที่ 5,500 rpm ถึง 5 วินาทีเรียกว่าช้าเร็วต่างกันราวฟ้ากับเหวเหมือนความสวยของ Paula กับ เจ๊ระเบียบรัฐ เสียงเครื่องยนต์ของ F20C เพราะที่สุดอยู่รอบช่วง 7,000-8,500 rpm มันโหยหวนให้อารมณ์ดีแท้ ใครที่แฟน Honda คงรู้ดีว่าไอ้เจ้าเสียงระบบ V-Tec ทำงานนะเป็นอย่างไร ทำให้พอคุณเปลี่ยนเกียร์ขึ้น คุณอยากจะยิ่งกระทืบคันเร่งส่งให้ไปถึงรอบเครื่องตรงนั้นอีกครั้ง เหมือนกับพวกผู้ชายซาดิสท์เลย ถามว่าเพราะขนาดไหนมันไม่ได้เพราะถึงระดับพวกม้าป่าหรอกครับ แต่สำหรับเครื่องระดับ 2,000 cc. จากรถญี่ปุ่นแค่นี้ก็พอแล้วล่ะ อัตราเร่งที่ต่อเนื่องนี่ทำให้ผมสามารถพาเจ้า S2000 ไปถึงที่ระดับความเร็ว 200 ได้อย่างไม่ยากเย็น และไปถึงระดับ 230 ได้แต่ค่อนข้างอืดแล้ว เครื่องและอัตราทดเกียร์ยังมีเหลืออีกหน่อย ทางโรงงานเคลมว่ามันวิ่งได้ถึง 240 แต่ไม่เอาแล้วครับกลัว เพราะรถคันนี้ช่วงล่างยังเดิม ถนนบ้านเราก็ไม่เรียบ ขับๆอยู่นึกว่าไปวิ่ง rally วิ่งเร็วๆเข้าเลยมีอาการเหวอ ตัดสินใจยกดีกว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจในตัว เจ้า S2000 ก็คือเรื่องความความกระชับฉับไวของเจ้าคันเกียร์แบบ 6 speeds ที่แสนจะเข้าง่าย คล่อง และแม่นยำอยู่โข ดีกว่า Evo 8 เยอะ ไอ้คำว่าเข้าง่ายก็คือมันไม่ต้องออกแรงอะไรเลย ใช้นิ้วสองนิ้วหนีบหัวเกียร์ก็เข้าได้ เท่าที่ได้ข่าวมารู้สึกว่าตัว model ปี 2004 เกียร์ได้รับการปรับปรุงให้ยอดเยี่ยมกระเทียมดองมากกว่านี้อีก ในโค้ง S2000 ค่อนข้างจะเกาะครับ แม้จะไม่ได้นิ่งแบบรถยุโรปที่มีระบบอิเล็คทรอนิคส์เยอะๆ อย่าง SL55 AMG หรือ Gallardo แต่ก็ถือว่าเกาะพอควร และยังควบคุมได้ไม่ออกอาการให้หวาบหวิวสยิวท้องน้อยหากรู้ limit ของรถ อย่างไรก็ดีทั้งๆที่เบาะคนขับแถบจะนั่งอยู่บนฐานล้อหลังแล้ว รถก็ไม่ได้มีอาการบอกก่อนล่วงหน้าเลยว่าจะ oversteer คือปลิวเข้าโค้งไป ตอนแรกทำท่าว่าจะเข้าได้อยู่หรอก แต่ถ้าเข้าแรงไปนิดเดียวก็ท้ายออกแล้วออกเลย ไม่ได้บอกอาการก่อน อีกอย่างพวงมาลัยแม้จะเบาหวิวและเหมาะที่จะขับในเมืองไม่ต้องสาวจนแขนแถบหลุด แต่พอใช้ความเร็วสูงๆมันไม่ค่อยจะสื่ออาการให้รู้สึกใดๆทั้งสิ้น ยิ่งทำให้ไม่สามารถจับอาการที่จะ oversteer ได้มากเข้าไปอีกและเป็นสาเหตุที่ทำให้ถ้าเกิดยังไม่รู้จักรถดีพอจะทำให้ไม่ค่อยกล้าเข้าโค้งแรงๆ แต่ถ้าขับไปสักพักเดี๋ยวก็จะชินเองครับ แล้วจะค่อยๆกล้าเข้าโค้งแรงขึ้นไปเรื่อยๆเอง ส่วนอาการ oversteer ก็แก้ได้ไม่ยาก ไม่ได้ over ทีแล้วเอาไม่อยู่เหมือนกับพวงเครื่องวางกลาง ด้วยความที่เครื่องยนต์มันเล็ก และอัตราทดเกียร์ค่อนข้างชิดพอควร ทำให้เวลาต้องเดินทางไกลหรือใช้ความเร็วสูงๆรอบเครื่องจะค่อนข้างสูงและทำให้เสียงเครื่องค่อนข้างดังเข้ามาในรถมากจนน่ารำคาญ ได้ข่าวว่าแม้ในตัว 2004 ที่ได้รับการปรับปรุงเรื่องเกียร์ก็ยังมีปัญหาตรงนี้อยู่เหมือนกัน ระบบเบรกถือว่าอยู่ในเกณท์ที่น่าพอใจครับ แม้ว่าจะใช้ caliper แค่ pot เดียวแต่จานเบรกก็ใหญ่พอควร นับว่าเอาอยู่สำหรับความแรงระดับนี้ แต่ถ้าจะให้ชัวร์เปลี่ยนไปใช้ผ้าเบรกแบบ high friction หน่อยก็จะเพิ่มความมั่นใจไม่ต้องห่วงว่าจะไปมุดใต้ท้องสิบล้อมากขึ้น

โดยรวมผมว่า S2000 เป็นรถที่ขับสนุกครับ แต่อยู่ภายใต้ข้อแม้ที่ต้องขับแบบคุณไม่รักรถคันนี้ หรือพูดอีกในหนึ่งก็คือขับแบบไม่เสียดายรถ คุณถึงจะเข้าถึงความสนุกและ performance ของมัน ปัญหาก็คือไอ้ความสนุกมันอยู่ที่ 7,000 รอบขึ้นไปนะสิ แล้วปกติใครจะไปใช้รอบเครื่องที่สูงขนาดนั้น เห็นขับๆกันอยู่ปกติก็ไม่เกิน 5,000 rpmเรื่องอัตราการบริโภคน้ำมันไม่ได้แดกจนน่ากลัว เอาเป็นว่าพอรับได้ ถ้าเหยียบมากก็กินมาก เรื่องความร้อนหายห่วง รถญี่ปุ่นเครื่อง standard ขับให้ตาย ลากให้ตายยังไงถ้ายังมีน้ำในหม้อน้ำอยู่เข็มความร้อนไม่มีกระดิก อย่างที่เอาไปกระทืบอยู่นานโข รถก็ติดเข็มความร้อนก็ยังนิ่งสนิท แอร์ก็เย็นจัดประหยัดไฟ หน้าตาความหล่อเหลาไม่ต้องห่วง เป็นรถที่ขึ้นชื่อว่าเปิดประทุนอย่าง roadster เมื่อไรถือว่าดูดีมีชาติตระกูลพอสมควรอยู่แล้ว ขับไปไหนก็มีคนมองพอใช้ได้ อาจจะมองด้วยควาสงสัยก่อนว่านี่มันรถยี่ห้ออะไรหว่า เนื่องจากตอนที่ทาง Honda ประเทศไทยเอาเข้ามาขายมันไม่ประสบความสำเร็จพอๆกับที่นักฟุตบอลไทยไปท้าแข้งที่อังกฤษยังไงยังงั้นช่วงล่างไม่ได้แข็งอะไรนักหนาเหมือนกับพวก Evolution ยังอยู่ในระดับที่พาคุณพ่อ คุณป้า อากง อาม่า ขึ้นมานั่งแล้วไม่ต้องพาส่งโรงพยาบาลทีหลัง การใช้งานในเมืองอยู่ในระดับที่พอไหวครับ จะมีให้รำคาญก็พวกเสียงที่เข้ามาในรถ อย่างพวกเสียงยางหรือเสียงเครื่องนั้นแหละครับ

เรื่องอะไหล่ คงต้องสั่งผ่านทางศูนย์ Honda เอาละครับ อะไหล่บางชิ้นอาจจะต้องสั่งจากต่างประเทศเอา แต่ไม่มีปัญหาอะไรเดี๋ยวนี้ร้านรับสั่งอุปกรณ์นำเข้าและสินค้าจากญี่ปุ่นมีอยู่หลายร้าน พวกอุปกรณ์ modify หรือของแต่ง ขึ้นชื่อว่า Honda แล้วไม่แห้งแล้งแน่นอน ในประเทศญี่ปุ่นมีให้สั่งอยู่ตรึมไปหมด ให้ไล่เรียงทุกยี่ห้อสามวันก็คงไม่หมดเรื่องราคานั้นอยู่ในระดับ 3 ล้านนิดๆ ตัวเลือกอื่นๆให้เลือกอยู่เต็มไปหมด เผลอๆราคาจะไปปีนกับ NSX ซะด้วยซ้ำ S2000 จะมีดีกว่าก็ตรงที่ปีมันไม่เก่านั่นแหละ ส่วนอื่นๆนั้นผมยังหาข้อดีกว่า NSX ไม่เจอ ถามว่าทำไมราคามือสองมันถึงแพงโลกแตกอย่างนี้ ก็เพราะว่าตอนที่มันเป็นรถมือหนึ่งมันขายไม่ค่อยออกครับ จะไปขายออกได้อย่างไรราคาตั้งปาเข้าไปตั้ง 3.99 ล้าน เกียร์ธรรมดา หลังคาผ้าใบ แถมยังเป็นแค่ Honda เจอ SLK 230 เข้าไปราคาถูกว่าเป็นแสนๆ แถมหลังคาเหล็กพับได้ เกียร์ Auto ตราเบนซ์เรียบร้อยโลกเรียนเยาวราช อาเสี่ยที่ไหนจะไปเลือก S2000 อีไม่รู้หรอกว่าไอ้ S2000 น่ะมันขับสนุกว่า SLK บาน เอาเป็นว่าใครสนใจจะหา roadster ที่ขับสนุกๆ รถมีน้อยไม่ค่อยซ้ำใคร ไม่เกี่ยงเรื่องราคา (เพราะมันแพงน่าเกลียด) S2000 ก็น่าสนใจอยู่นา

การดูแลถนอมรักษารถ

การดูแลถนอมรักษารถ
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก่อนอื่นขอพูดถึงเรื่อง  ความเงาของสีรถ เกิดขึ้นจาก ความสะอาด ความเรียบ และความใสของ  แลกเกอร์(Clear Coated) สิ่งที่จะทำให้เกิดความสะอาด ความเรียบ ความใส ก็ต้องทำในขั้นตอนดังนี้   1. ใช้ดินน้ำมัน Over Spray Clay สำหรับการลบละอองสี  ยางไม้ สิ่งสกปรกที่ติดบนผิวสี ขี้ไคลสี หลังจากล้างรถแล้ว เคลือบสี ทำให้สีรถของท่านจะเรียบสะอาด   2. ลบรอยขนแมว บนสีผมโดยใช้น้ำยาและอุปกรณ์  ฟื้นฟูสภาพผิวสี จาก Meguiars USA วิธีนี้รถของท่านจะกลับมาเหมือนใหม่ โดยสีจะใสเข้มขึ้นจากการสะท้อนที่ดีของแสงกระทบบนผิวสีที่ ขัดแล้ว ความกังวลของลูกค้าที่ Clear Coated บางลง จริงๆในการขัดนั้น จะเป็นการลบรอยบน Clear  Coated เท่านั้น ซึ่งน้ำยาของ Meguiar’s นั้นไม่มีส่วนผสมของน้ำมันทำละลาย ซึ่งดมพิสูจน์ได้ ต่างจากที่ขัดจากอู่สี เขาต้องการขัดหน้า ให้ออกลึกๆ เพื่อปรับสีให้เรียบดังนั้นน้ำยาที่ใช้จึงมีส่วนผสมของน้ำยาทำละลายสูง (Solvent)เมื่อมีการขัดสีทุกครั้ง ช่างโดยทั่วไปจะใช้วิธีเดียวกันกับในอู่สีและใช้น้ำยาขัดเหมือนกันด้วยซึ่งจะทำให้สีของท่านบางลงเกินกว่าที่ต้องการลบรอย เพราะฉะนั้นการขัดฟื้นฟูสภาพสีผิวโดยกระบวนการของ Meguiar’s จึงเหมาะกับ สีรถที่ต้องการดูแลรักษาให้กลับมาเหมือนใหม่อีกครั้ง

อ้างอิง http://www.unseencar.com/content1.php

โพสโดย นาย สุวิจักษณ์ สมุห์มานิต ม.6/5 เลขที่ 20

การดูแลรักษารถเบื้องต้น

การดูแลรักษารถเบื้องต้น

ในระบบสตาร์ทรถยนต์โดยทั่วไป ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลที่กุญแจสตาร์ทจะต้องบิดกุญแจ 3 จังหวะ คือ AC , ON และ START ผู้ขับขี่บางท่านอาจจะปิดกุญแจรวดเดียว 3 จังหวะไปที่ START ถ้ารถท่านเป็นรถใหม่ก็อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ารถท่านผ่านการใช้งานมานาน ๆ อาจต้องสตาร์ทหลายครั้งก่อนที่เครื่องยนต์จะติด ซึ่งระหว่างที่ท่านสตาร์ทรถหลาย ๆ ครั้งนั้น ท่านกำลังทำลายระบบสตาร์ทให้อายุการใช้งานสั้นลง วันนี้เรามีคำแนะนำการสตาร์ทรถที่ถูกวิธี ท่านจะไม่ต้องมานั่งสตาร์ท แชะ แชะ แชะ ให้เสียฟอร์ม และยังเป็นการยืดอายุระบบสตาร์ทให้ใช้งานได้ ดีอีกนานแสนนาน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้   1. ปิดอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟทั้งหมดในรถ เช่น เครื่องปรับอากาศไฟหน้า และเครื่องเสียงต่าง ๆ เพื่อให้แบตเตอร์รี่จ่ายไฟเต็มที่   2. เหยีบครัชให้สุด (สำหรับเกียร์ AUTO ให้เข้าเกียร์ที่ตำแหน่ง N หรือ P เพื่อผ่อนแรงมอร์เตอร์สตาร์ท   3. บิดกุญแจมาที่ตำแหน่ง ON ค้างไว้ ตราวจเช็คไฟเตือนต่าง (รายละเอียดให้ศึกษาจากคู่มือรถ) รอจนไฟเตือนหัวเผารูปขดสปริงเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีเขียว หากเครื่องยนต์เย็นควรกดแป้นคันเร่ง 1 ครั้ง   4. บิดกุญแจสตาร์ทเท่านี้คุณก็ไม่ต้องนั่งเสียฟอร์มสตาร์ทรถ แชะ แชะ แชะแล้ว ขอให้ทำจนเป็นนิสัยไม่ว่ารถเก่าหรือรถใหม่ หากทำตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลให้ ท่านนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมระบบไฟไดชาร์ท ไดสตาร์ทโดยทั่วไป

อ้างอิง http://www.unseencar.com/content1.php

โพสโดย นาย สุวิจักษณ์ สมุห์มานิต ม.6/5 เลขที่ 20

การบำรุงรักษารถด้วยตนเอง

  การบำรุงรักษารถด้วยตนเอง

การบำรุงรักษารถด้วยตนเองที่นำเสนอนี้ เป็นแนวทางทั่วๆไป ที่เน้นหนักไปที่รถ TOYOTA แต่สำหรับรถยี่ห้ออื่น ก็สามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตามถ้าสิ่งที่นำเสนอนี้ต่างไปจากหนังสือคู่มือรถ ก็ขอให้ยึดถือข้อมูลในหนังสือคู่มือเป็นหลัก รายการที่ควรตรวจเช็ค         1. น้ำหล่อเย็น ควรตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในระดับ Full อยู่เสมอ โดยตรวจเช็คในขณะที่ดับเครื่อง และเครื่องเย็น ถ้าระดับน้ำลดลงเป็นปริมาณมากก็อาจจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาหาสาเหตุ หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คสาเหตุ (อย่าลืมเติมน้ำก่อนนำรถไป)
2. ระดับน้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง อุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดยใช้ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง

  • เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3นาทีเพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
  • ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
  • เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
  • ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมัน เครื่องอยู่ระหว่าง ” F ” กับ ” L ” แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ

 

ข้อควรระวัง    – หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้    – ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติมน้ำมันเครื่องลงไป

 


 

        3. ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ให้อยู่ในตำแหน่ง UPPER/LEVELและไม่ควรเติมเกินกว่าระดับ UPPER/LEVEL เพราะถ้าเติมมากเกินไป น้ำยาอิเลคโทรไลท์ซึ่งเป็นสารละลายกรดซัลฟูริค จะเจือจางทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงนอกจากนี้ น้ำยาอิเลคโทรไลท์อาจจะกระเด็นออกทางรูระบายไอ และไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์ได้ ข้อควรระวัง               – ปิดฝาเติมน้ำกลั่นให้แน่น               – ขั้วแบตเตอรี่ที่ขั้วบวกและลบขันแน่น               – แบตเตอรี่ยึดแน่นกับฐานที่ตั้ง

        4. ระดับน้ำมันเบรก ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันเบรกมีคำว่า MAX และ MINระดับน้ำมันเบรกควรอยู่ที่ระดับ MAX อยู่เสมอ สาเหตุที่เป็นไปได ้ที่มีผลทำให้ปริมาณน้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงต่ำลงมี 2 ข้อ คือ               – มีการรั่วของน้ำมันเบรกออกจากระบบเบรก               – การสึกหรอของผ้าเบรก ซึ่งระดับน้ำมันเบรกจะลดลงน้อยและช้ามาก ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมันเบรกถ้าพบว่าระดับน้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงต่ำลงรวดเร็ว ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คสาเหตุ
        5. ระดับน้ำมันคลัทช์ ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันคลัทช์ จะมีคำว่า MAX กับ MIN ระดับน้ำมันคลัชท์ควรอยู่ที่ระดับ MAX เสมอ ถ้าพบว่าระดับน้ำมันคลัทช์ในกระปุกลดลงต่ำลง ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุ
        6. ระดับน้ำมันเกียร์ AUTO ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ AUTO ออกเช็คน้ำมันเกียร์ที่ติดก้านวัดด้วยผ้า แล้วเสียบก้านวัดน้ำมันเกียร์คืนกลับจุดเดิม ดึงก้านวัดออกมา อีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจระดับน้ำมันเกียร์ที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเกียร์อยู่ที่ขีด F พอดี แสดงว่า ระดับน้ำมันเกียร์ปกติ
        7. ตรวจเช็คระดับน้ำมัน POWER ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการหมุนฝาปิดกระปุก น้ำมัน POWER จะติดอยู่กับฝากระปุกน้ำมัน POWER ที่ก้านวัดจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้านถ้าวัดตอนที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ให้ดูด้าน COLD ถ้าวัดตอนเครื่องร้อนให้ดูด้าน HOT ถ้าเป็นรุ่นใหม่ให้ดูที่กระปุกน้ำมัน POWERจะเป็นพลาสติกใส ที่กระปุกจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน และมีขีดระดับ MAX กับ MIN อยู่ด้วยระดับน้ำมัน POWER ควรอยู่ระดับ MAX เสมอ ถ้าดูตอนเครื่องยนต์ เย็นให้ดูด้าน COLD และถ้าดูตอนเครื่องยนต์ร้อนให้ดูด้าน HOT         8. ตรวจเช็คสภาพของสายพาน โดยวิธีการมองดูที่สายพาน ถ้าพบรอยแตกเกิดขึ้นควรทำการเปลี่ยน แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะใช้รถได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ก็ควรตรวจดูความตึงของสายพานด้วย โดยการใช้นิ้ว กดลงบนสายพานตรงกลางระหว่างมู่เล่สองข้างถ้าสามารถกดลงได้เล็กน้อย ประมาณ 10 มม.ก็น่าจะพอใช้ ได้ (ถ้าไม่แน่ใจควรให้ช่างตรวจสอบเพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ตรวจต้องมีความชำนาญพอสมควร)
        9. ตรวจเช็คสภาพภายในห้องเครื่อง โดยวิธีการมองดูรอบๆภายในห้องเครื่อง ให้สังเกตดูว่า มีอะไร ผิดปกติหรือไม่ เช่น ท่อยางหม้อน้ำมีคราบน้ำซึมหรือไม่ สายไฟภายในห้องเครื่องเรียบร้อยดีหรือไม่ มีหนูขึ้นมากัดหรือไม่ มีคราบน้ำมันเครื่องรั่วซึมหรือไม่ เป็นต้น
        10. ตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ เปิดไฟทั้งหมดดูว่าทำงานตามปกติหรือไม่ มีหลอดไหนไม่ติดหรือไม่ ถ้าพบว่ามีไฟหลอดไหนไม่ติดควรเปลี่ยนให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค
        11. ตรวจเช็คที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝนเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็อาจมีการเสื่อมสภาพซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้              – ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอ จากการทำงานปกติของใบปัด              – มีสิ่งสกปรก และหินทรายละเอียดอยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนสึกหรอ              – เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนานๆ ยางใบปัดน้ำฝนจะแข็งตัว การยืดหยุ่นจะลดลงและความ บกพร่องในการปัดจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับกระจกไม่ดี รวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการสั่นเต้น หรืออาการอื่นๆถ้าพบอาการเหล่านี้ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่
        12. ตรวจเช็คยาง ควรเช็คแรงดันลมยางอยู่เสมอๆ โดยใช้ความดันลมยางตามที่ผู้ผลิตกำหนด และควรเช็คขณะที่รถยังไม่ได้ใช้งาน( ยางยังไม่ร้อน ) ถ้าลมยางอ่อนผิดปกติควรนำไปตรวจสอบว่า มีตะปูตำหรือไม่ ดูสภาพยางด้วยตาดูที่ผิวยางมีรอยแตกเล็กๆ หรือไม่ ดูการสึกหรอของดอกยาง กล่าวคือ ดอกยางสึกมากไปหรือยัง หรือมีการสึกหรอผิดปกติ เช่น ลึกเฉพาะตรงกลางหน้ายาง (เติมลมมากเกินไป)สึกเฉพาะขอบยางทั้ง 2 ข้าง(ลมยางอ่อนเกินไป) หรือสึกด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งกรณีเหล่านี้ควรปรึกษา ช่าง เพราะควรจะมีการตรวจเช็คช่วงล่าง และศูนย์ล้อ เอาเล็บมือกดดูที่เนื้อยางว่า นิ่ม หรือ แข็ง ถ้ายาง หมดสภาพ เนื้อยางจะกดไม่ลงจะแข็งมาก

อ้างอิง http://www.phithan-toyota.com/th74/article/detail/152/7

โพสโดย นายสุวิจักษณ์  สมุห์มานิต ม.6/5 เลขที่ 20

วิธีรักษาสีรถ

วิธีการรักษาสีรถ หลักการง่าย ๆ ในการดูแลสีรถแก่เจ้าของรถไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถเก่าที่ผ่านการซ่อมสีมาแล้ว ประการแรกเจ้าของรถควรจะรู้ก่อนว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายแก่สีรถประกอบไปด้วยอะไรบ้าง – ควัน และฝุ่นละอองที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมันดินหรือยางมะตอยและอื่น ๆซึ่งปฎิกิริยาเคมีจากสารเหล่านี้จะทำให้ผิวสีถูกทำลาย – การสะสมเป็นเวลานานของฝุ่น ,ละอองน้ำมันต่าง ๆ สารปนเปื้อนจากท่อไอเสียและมลภาวะต่าง ๆ ในอากาศซึ่งจะทำให้ผิวสีหมอง และซีด – ขี้นก,น้ำเค็ม,ยางไม้ และพวกรอยที่เกิดขึ้นจากแมลงจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวเสียไป วิธีการรักษาสีรถ -ควร จอดรถในโรงเก็บรถเพื่อป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต -ควร ล้างรถสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดยปกติของการล้างรถไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่งหรือมีมลภาวะทางอากาศ – ควร ใช้น้ำยาล้างรถมาตรฐาน และควรจะล้างด้วยมือ หมายเหตุ น้ำยาล้างรถบางชนิด เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวสีเสีย ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของโรงงานผู้ผลิตรถยนต์ – ไม่ควร ใช้น้ำยาล้างรถที่ไม่ได้มาตรฐาน – ควร ฉีดน้ำไล่จากบนลงมาล่างด้วยน้ำเย็นก่อน เพื่อเศษฝุ่นที่ฝังอยู่บนผิวสีจะได้ลอยตัว -ไม่ควร ขัดด้วยฟองน้ำในเที่ยวแรก – ควร ใช้ถังใส่น้ำอุ่นผสมกับน้ำยาล้างรถในอัตราส่วนที่ผู้ผลิตให้คำแนะนำ – ไม่ควร ใช้น้ำยาล้างรถเกินอัตราที่ทางผู้ผลิตแนะนำ -ควร ล้างรถแต่ละส่วนด้วยฟองน้ำที่นุ่ม โดยเริ่มต้นจากหลังคา ไล่ลงมาทางด้านข้าง รวมถึงกระจกและรอยขอบต่าง ๆ -ไม่ควร ปล่อยให้บริเวณที่ล้างแห้ง ควรจะล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนที่จะล้างในส่วนอื่นต่อไป – ควร ล้างด้วยน้ำสะอาดทั้งคันอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จแล้ว – ควร ทำความสะอาดรอยเปื้อน หรือคราบออกจากสีผิวให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้ -ไม่ควร ปล่อยให้รอยเปื้อน หรือคราบอยู่บนผิวสีเป็นเวลานานจนเป็นรอยเปื้อนหรือคราบถาวร สำหรับรอยเปื้อน หรือคราบที่ล้างออกยาก ควรจะล้างตามวิธีการข้างต้นเสียก่อน ถ้ายังคงล้างไม่ออกให้ปฎิบัติดังนี้ ให้ใช้ SIRICONE REMOVER ในการทำความสะอาดรอยเปื้อนนั้น การขัดสี ตามปกติเราจะไม่แนะนำให้มีการขัดสี เพื่อเพิ่มความเงา และสารใด หรือองค์ประกอบใด ๆ ที่เกี่ยวกับการขัดสีจะไม่ถูกแนะนำ การขัดสีเป็นข้อแนะนำขั้นสุดท้าย เพราะว่าการขัดสีเป็นการลอกผิวสีชั้นบนสุดออก การใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ถูกต้องและยาขัดสีโดยตรงจะทำให้รอยต่างๆ บนผิวสีลดลง และความเงาที่ดีขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีข้อแนะนำให้ใช้ทุกสามเดือน หรือขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของเจ้าของรถ

อ้างอิง http://www.chuansin.com/doctorcar/maintenance12.html

โพสโดย นายสุวิจักษณ์  สมุห์มานิต ม.6/5 เลขที่ 20

Lotus Elise สดใหม่สไตล์สปอร์ตคาร์น้ำหนักเบา

เวอร์ชันใหม่ซึ่งจะเป็นโมเดลปี 2011 ของรถสปอร์ตที่มีน้ำหนักเบาในตระกูลอีลิส ซึ่งสร้างชื่อและโด่งดังอย่างมากช่วง 14 ปีที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงครั้งนี้เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงรูปโฉมภายนอกด้วยชิ้นส่วนตัวถังใหม่ ซึ่งอิงสไตล์การออกแบบมาจากสปอร์ตเครื่องยนต์วางกลางรุ่นพี่อย่างอีโวรา โดยคงเอกลักษณ์ของการเป็นสปอร์ตน้ำหนักเบาที่ขับสนุก และอัตราเร่งทันใจเหมือนเดิม           นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับอีลิสใหม่คือ การเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ให้กับเวอร์ชัน Entry Level สำหรับนักซิ่งงบน้อย ด้วยรุ่นเครื่องยนต์บล็อกเล็ก ซึ่งยกขุมพลังรหัส 1ZR-FAE ของโตโยต้ามาวางอยู่กลางลำ โดยมาแทนที่เครื่องยนต์ 1,800 ซีซีในรหัส 1ZZ-FE บล็อกเดิมของโตโยต้า               แน่นอนว่าเครื่องยนต์ใหม่นี้มีความจุน้อยกว่าเดิม 200 ซีซี โดยเป็นแบบ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 1,600 ซีซี พร้อมระบบ Valvematic ซึ่งควบคุมการทำงานของวาล์วทั้งฝั่งไอดีและไอเสีย แต่มีกำลังสูงสุดเทียบเท่ากัน ด้วยตัวเลข 136 แรงม้า ที่ 6,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.3 กก.-ม. ที่ 4,300 รอบ/นาที          ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ด้วยกล่องสมองกลรุ่น T6 ที่เซ็ตโดยทีมงานของโลตัส ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และให้ความประหยัดน้ำมันเฉลี่ยด้วยตัวเลข 15.8 กิโลเมตร/ลิตร        ด้านความเบานั้นนอกจากการเลือกใช้อะลูมิเนียมมาผลิตแชสซีส์ ซึ่งทำให้ระบบแชสซีส์ของตัวรถมีน้ำหนักเบาเพียง 68 กิโลกรัมแล้ว        ล้อแม็ก Forged ลายใหม่ ซึ่งไม่ได้ระบุขนาดยังมีน้ำหนักลดลง ด้วยตัวเลข 29.26 ต่อเซ็ต หรือเฉลี่ย 7.3 กิโลกรัมต่อวง โดยเบากว่าล้อแม็กแบบหล่อของรุ่นก่อนปรับโฉม 2.14 กิโลกรัมต่อเซ็ต ขณะที่ตัวรถมีน้ำหนักรวมเพียง 876 กิโลกรัมเท่านั้น  แม้จะเป็นรุ่น Entry Level แต่สเปกก็ไม่ได้ด้อยตามไปด้วยเพราะนอกจากจะมีการติดตั้งระบบครูสคอนโทรลแล้ว ก็ยังติดตั้งดิสก์เบรกขนาด 282 มิลลิเมตรแบบมีครีบและรูระบายความร้อนของ AP Racing เป็นอุปกรณ์มาตรฐานอีกด้วย

 

อ้างอิงhttp://www.car4ur.com/article-236.php